ดูหน้า

Thinking Skills - การวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ

การวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ

(Systematic Problem Solving & Decision Making)

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

หลักการและเหตุผล

ปัญหาเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งในการบริหาร และการจัดการ (Problem is a nature or Management) ฉะนั้นผู้ที่เป็นนักบริหารจะต้องไม่วิ่งหนีปัญหาไม่ปฏิเสธที่จะศึกษาปัญหา และไม่ปฏิเสธว่าไม่มีปัญหาเพราะการไม่มีปัญหาเป็นสัญญาณอันตรายในการบริหารองค์กร ความสามารถในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ หรือการจัดการกับเรื่องต่างๆ เป็นรากฐานสำคัญต่อความสำเร็จในการทำงาน และการดำเนินชีวิต แต่เป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่เราไม่ค่อยประสิทธิภาพ

เราจึงได้จัดทำหลักสูตรนี้ เพื่อช่วยท่านและทีมงานเพิ่มพูนประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการแก้ปัญหา และตัดสินใจ โดยสามารถนำกระบวนการคิด และการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล ไปใช้ในการบริหารจัดการ ดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไป

 

เนื้อหา

  1. ความหมายของคำว่าปัญหา
  • ประเภทของปัญหา
  1. การประเมินสถานการณ์ (Situation Assessment)
  2. ระบุเรื่องที่เกี่ยวข้อง (Identify Concern)
  3. ทำประเด็นให้ชัดเจน (Clarify Concern)
  4. จัดลำดับความสำคัญ (Prioritize Issue)
  5. เลือกวิธีการที่จะใช้ (Choose Methodology)
  6. วางแผนผู้ที่เกี่ยวข้อง (Plan Involvement)
  7. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
  8. ระบุปัญหาให้ชัดเจน (Define Problem)
  9. รวบรวมข้อเท็จจริงของปัญหา (Problem Specification)
  10. ค้นหาสาเหตุที่เป็นไปได้ (Identify Possible Cause)
  11. ประเมินสาเหตุที่เป็นไปได้ (Test Possible Cause)
  12. ยืนยันสาเหตุที่แท้จริง (Confirming the true Cause)
  13. การวิเคราะห์การตัดสินใจ (Decision Analysis)
  14. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน (Clarify Purpose)
  15. กำหนดหลักเกณฑ์ (Set Criteria)
  16. จำแนกประเภทของหลักเกณฑ์ (Categorize Criteria)
  17. กำหนดความสำคัญ (Assign Importance)

iii. ทบทวนหลักเกณฑ์ (Review Criteria)

  1. ประเมินทางเลือก (Evaluate Alternatives)
  2. สรรหาทางเลือก (Identify Choices)
  3. เปรียบเทียบทางเลือก (Compare Alternatives)
  4. ตัดสินใจเลือก (Make Decision)
  5. การวิเคราะห์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น (Potential Problem Analysis)
  6. ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิด (Identify Potential Problems)
  7. ระบุสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดปัญหา (Identify Potential Causes)
  8. ระบุมาตรการป้องกัน (Identify Preventive Actions)
  9. ระบุผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น (Identify Potential Effects)
  10. ระบุมาตรการรับมือ และสัญญาณเตือน (Identify Contingency Actions & Signals)

 

รูปแบบการฝึกอบรม

การสัมมนาโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการฝึกอบรมจึงมีองค์ประกอบหลากหลายรูปแบบ ทั้งการนำอภิปราย การบรรยาย กรณีศึกษา บทบาทสมมติ การเปิดโอกาสให้ถามคำถาม และตลอดทั้งการฝึกอบรม จะมีเกมส์ กิจกรรม มาช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วม โต้ตอบกันอยู่ตลอดเวลา ผู้เข้าอบรมจะเต็มเปี่ยมด้วยสาระ ความรู้ ความสนุกสนานต่อการเรียนรู้ รวมทั้งกำลังใจ แรงบันดาลใจที่วิทยากรได้สอดแทรกให้ตลอดการฝึกอบรม

 

 วิทยากร

อาจารย์ไววิทย์ แสงอลังการ


16 มีนาคม 2563

ผู้ชม 3729 ครั้ง

Engine by shopup.com