ดูหน้า

Thinking Skills - Problem Solving & Decision Making

การแก้ไขและตัดสินใจ

Problem Solving & Decision Making

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

 หลักการและเหตุผล

การทํางานในองค์กรในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะการณ์แข่งขันที่รุนแรง สถานการณ์ต่างๆผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทักษะสําคัญด้านหนึ่งของบุคลากรในองค์กรที่พึงมี คือ การแก้ปัญหาและตัดสินใจ โดยเฉพาะระดับจัดการ ซึ่งจําเป็นต้องรับมือ และบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อระดับจัดการ ในองค์กรธุรกิจโดยเฉพาะ เพราะโจทย์กิจกรรมต่างๆใน หลักสูตร อ้างอิงโจทย์และปัญหาสําคัญทางธุรกิจโดยเฉพาะ เช่น ยอดขาย, ต้นทุน, การส่งมอบ, ประสิทธิภาพการทํางาน, การบริหารจัดการ หรือแม้แต่เรื่องคน ซึ่งล้วนเป็นปัญหาหลักๆขององค์กรทั้งสิ้น เพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรระดับจัดการ ให้เป็นกําลังสําคัญในการสร้างความสําเร็จให้องค์กรต่อไป

 

 วัตถุประสงค์

2.1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรม เรียนรู้และเข้าใจภาพรวมของเป้าหมายและปัญหาขององค์กรธุรกิจ

2.2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้พัฒนาความรู้และทักษะ ด้านการคิด วิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ

2.3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้ฝึกการแก้ปัญหาและตัดสินใจ ในการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 เนื้อหา

1. ภาพรวมหลักสูตร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ

- เข้าใจโจทย์องค์กร วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ นโยบายองค์กร

- การคิดอย่างเป็นระบบ พื้นฐานสําคัญของการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

- กระบวนการแก้ปัญหา และ ตัดสินใจ

2. เข้าใจโจทย์สําคัญขององค์กร

- เข้าใจวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายองค์กร หลักเกณฑ์สําคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหา

- เข้าใจ คุณค่า (Values) และ Success Factor ของธุรกิจ

- เป้าหมาย และตัวชี้วัด องค์กร และหน่วยงาน

Workshop : การหา Values และ Success Factor ของธุรกิจ

3. การคิดอย่างเป็นระบบ พื้นฐานสําคัญของการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

- เข้าใจการทําโครงสร้างเป้าหมาย และ โครงสร้างการทํากําไร

- ปัจจัยสําคัญของกระบวนการ (Input-Process-Output)

- เข้าใจผังกระบวนการ (Process Mapping & Work Flow)

- การบริหารจัดการทรัพยากร จาก Work Flow

- ทุกงานมีผลที่คาดหวัง และตัวชี้วัด (KPI)

4. กระบวนการตัดสินใจ การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

4.1 การกําหนดเป้าหมาย หรือ ระบุปัญหา

4.2 การวิเคราะห์ปัญหา

4.3 การออกแบบทางเลือก ในการแก้ไขปัญหา

4.4 การประเมินทางเลือก และประเมินความเสี่ยง

4.5 การตัดสินใจเลือกวิธีที่จะแก้ปัญหา

- การนําไปปฏิบัติ

- การติดตาม และตรวจสอบ

 

4.1 การกําหนดเป้าหมาย หรือ ระบุปัญหา

- องค์ประกอบย่อยของปัญหา และเป้าหมาย

- มิติต่างๆของเป้าหมาย และปัญหา

- เข้าใจผลกระทบในด้านต่างๆ จากปัญหาที่เกิด (ปัญหาปลายทาง)

        - ด้านยอดขาย-มูลค่าความเสียหาย, ด้านความเชื่อมั่นของลูกค้าและ ภาพลักษณ์องค์กร

        - ด้านกระบวนการทํางาน, คุณภาพ, ต้นทุน, การส่งมอบ, ความปลอดภัย

        - ด้านปัญหากับหน่วยงานอื่น, ผู้บังคับบัญชาลูกน้อง และเพื่อนร่วมงาน

 

4.2 หลักการวิเคราะห์ปัญหา และวิเคราะห์เป้าหมาย

- ระบุขนาดของปัญหา เทียบกับเป้าหมาย และแผนงาน

- การแยกกระบวนการขั้นตอนสู่เป้าหมาย สาเหตุที่ทําให้เกิดปัญหา (Process Analysis)

- ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ เป้าหมาย หรือ ก่อให้เกิดปัญหา

- ตัดปัญหา หรือปัจจัยภายนอกออกไป (ไม่สามารถแก้ไขได้)

- การวิเคราะห์ น้ำหนักและผลกระทบของแต่ละปัจจัย

- เครื่องมือ ในการวิเคราะห์ปัญหาและเป้าหมาย

    - การใช้ Why Why Analysis

    - การวิเคราะห์งานด้วย ผังก้างปลา (Fish Bone Diagrams)

    - การวิเคราะห์องค์ประกอบด้วย Tree Diagram

    - การวิเคราะห์ขั้นตอนด้วย Process Mapping, Work Flow

Workshop : ฝึกวิเคราะห์องค์ประกอบของปัญหาและเป้าหมาย

(ยอดขาย, ต้นทุน, คุณภาพสินค้าบริการ, การส่งมอบตรงเวลา, ระบบการทํางาน, การสื่อสาร)

 

4.3 การออกแบบทางเลือก ในการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือต่างๆ

- การหาทางเลือก ด้วยการตอบโจทย์ปัจจัยความสําเร็จ

- ตั้งคําถามหาทางออกด้วย 5W+2H

- หลักการปรับปรุงงานด้วย EC R S

- การใช้แนวทางการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อแก้ปัญหาหรือ บรรลุเป้าหมาย

 

4.4 การประเมินทางเลือก ในการแก้ปัญหา

- กระบวนการประเมินทางเลือก (แตกต่าง, เป็นไปได้, ทันเวลา, คุ้มค่า, ไม่เกิดผลเสีย)

- ทางเลือกต้องตอบโจทย์ผลลัพธ์ PQCDS

- การประเมินความเสี่ยงด้านอื่นๆ

Workshop : ทําตารางออกแบบทางเลือก และประเมินทางเลือก ในการแก้ปัญหา

 

4.5 ตัดสินใจด้วยเครื่องมือต่างๆ

- การตัดสินใจตามหลักความสําคัญ และ เร่งด่วน

- การประเมินแบบตารางตัวเลข (ความสําคัญ น้ำหนัก ความถี่ และ ผลกระทบ)

- การตัดสินใจแบบ กลุ่ม โดยใช้ 6 Thinking Hat

- ผลกระทบที่จะเกิดกับหน่วยงานอื่น หรือองค์กร จากการตัดสินใจ

Workshop : ฝึกใช้เครื่องมือในการตัดสินใจ

 

5. การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา

- การวางแผนงาน และการบริหารจัดการทรัพยากร ป้องกันความผิดพลาด

- แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง

 

 รูปแบบการฝึกอบรม

สไตล์การบรรยาย แบบ Training & Coaching เน้นความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติ ให้ผู้เข้าอบรมเกิด ความคิด สร้างสรรค์เพื่อการนําไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง เน้นกิจกรรมที่ตรงประเด็นได้สาระ บวกสไตล์ บรรยายที่เข้าถึงผู้ฟัง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัววิทยากร

กิจกรรม เน้นกิจกรรมที่ให้ผู้เข้าอมรม ร่วมคิดร่วมทํา ที่ตรงตามการนําใช้กับการทํางานจริง

- บรรยาย 35 %

- การฝึกปฏิบัติ และ กิจกรรมกลุ่ม และการนําเสนอ 65 %

 

 เหมาะสำหรับ

Manager, Supervisor, หัวหน้างาน


04 พฤษภาคม 2563

ผู้ชม 774 ครั้ง

Engine by shopup.com