ดูหน้า
ดูหน้า
Productivity & Business Development -จิตสำนึกด้านคุณภาพ
จิตสำนึกด้านคุณภาพ
(Quality Awareness)
หลักการและเหตุผล
คุณภาพของสินค้าหรือบริการคือสิ่งที่ทุกองค์กรต้องสร้างให้เกิดขึ้นในการทำงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด การสร้างคนให้เข้าใจในการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพหรือที่เรียกว่ามี จิตสำนึกคุณภาพ เพราะถ้าเรามีพนักงานที่มีจิตสำนึกในการที่จะรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ คิดถึงแต่การทำงานให้มีคุณภาพ การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพจึงไม่ใช่สิ่งที่รอได้อีกต่อไป และเมื่อมีจิตสำนึกคุณภาพเกิดขึ้นแล้ว องค์กรยังจะสามารถพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้เกี่ยวกับจิตสำนึกด้านคุณภาพ จิตสำนึกที่ดีในการทำงาน มีความตระหนักในการปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เกิดจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน และสร้างให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานด้วยจิตสำนึกที่ดี ลดของเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรม รู้หลักการเพิ่มคุณภาพในกระบวนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพของวิธีการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพ และตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ให้สอดคล้องกับนโยบายคุณภาพของทางบริษัทต่อไป
เนื้อหา
- ความหมายและความสำคัญของคำว่า “คุณภาพ”
- ความท้าทายที่จำเป็นต้องมุ่งเน้นที่ “คุณภาพ”
- ขอบเขตคำว่า “คุณภาพ” ครอบคลุมถึงอะไรบ้าง
- ความเข้าใจคลาดเคลื่อนและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ “คุณภาพ”
- แนวความคิดหลักเกี่ยวกับคุณภาพ
- บัญญัติแห่งความจริง 10 ประการ เกี่ยวกับคุณภาพ
- จิตสำนึกและจิตสำนึกคุณภาพคืออะไร
- ผลกระทบจากการขาด จิตสำนึกคุณภาพ
- การสร้างการตระหนักรู้ให้เกิดจิตสำนึกคุณภาพ
- พฤติกรรมของผู้มีจิตสานึกคุณภาพ
- สรุปการเพิ่มผลผลิตเพื่อความยั่งยืนขององค์กร
การประเมินผล
- การทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Pre test - Post test)
- มีระบบการประเมินผลในการฝึกอบรม และนำมาวิเคราะห์เพื่อชี้วัดความสำเร็จ
รูปแบบการฝึกอบรม
บรรยาย และ Workshop กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ
ระยะเวลา
1 วัน
วิทยากร
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
16 มีนาคม 2563
ผู้ชม 3961 ครั้ง