ดูหน้า
ดูหน้า
General & Advanced Soft Skills - การบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์
การบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์
(“Strategic Performance Management System”)
หลักการและเหตุผล
โจทย์สําคัญของธุรกิจในปัจจุบัน คือ ความผันผวนของตลาด ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น การแข่งขัน รุนแรงขึ้น ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งทําให้องค์กรต่างๆหลายๆองค์กรไม่ สามารถบริหารจัดการหรือดําเนินการแบบเดิมๆ ได้อีกต่อไป ทุกองค์กรต้องมีการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เข้ามากระทบธุรกิจ ซึ่งไม่ง่ายเหมือนยุคก่อนๆ
ระบบการบริหารจัดการ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่ช่วยให้องค์กรทํางานได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด ทํางานตอบโจทย์ตรงประเด็น และมีโอกาสบรรลุเป้าหมายได้มากที่สุด คือ ระบบ บริหารผลงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance Management System) ซึ่งว่าด้วยการวางแผนกลยุทธ์องค์กร, การกําหนดเป้าหมาย, การทําแผนปฏิบัติการ,การติดตามประเมินผลงาน, และการปรับปรุงพัฒนาผลงาน
ซึ่งถ้าองค์กรสามารถดําเนินการในกระบวนการต่างๆได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และนําไปปฏิบัติ อย่างจริงจังแล้ว จะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาผลงานได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
ในหลักสูตรนี้เป็นการ เชื่อมโยงภาพรวมของการบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะทําให้ผู้เข้าอบรบ เข้าใจภาพรวม ได้เรียนรู้และฝึกทักษะในการวางกลยุทธ์ กําหนดเป้าหมาย และประเมินผลงาน ส่วนการจัดทําแผนปฏิบัติการไม่สามารถลงรายละเอียดได้ในหลักสูตรระยะสั้นนี้ เนื่องจากเนื้อหาทั้งหมดในรายละเอียด เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอควรในการทําความเข้าใจทั้งหมด
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึง ระบบการบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์
2.2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถวางเป้าหมายให้องค์กร เพื่อนําไปบริหารผลงานอื่นๆต่อไป
2.3 เพื่อให้แต่ละหน่วยงานในองค์กร มีเป้าหมายที่ชัดเจน และทํางานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2.4 เพื่อให้องค์กรมีระบบการประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพ
เนื้อหา
ส่วนที่ 1 ทบทวน วิสัยทัศน์ ภารกิจเพื่อกําหนดทิศทางของบริษัท
ภาพรวมของ Vision ,Mission และ ตัวอย่างของบริษัทอื่นๆ
1.1 แนวทางการกําหนด วิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กร
1.2 แนวทางการกําหนด ภารกิจ (Mission) ขององค์กร
1.3 ยุทธศาสตร์ และปัจจัยความสําเร็จขององค์กร
ส่วนที่ 2 แนวทางการกําหนดกลยุทธ์ขององค์กร
2.1 แนวทางในการกําหนดกลยุทธ์ ด้วยปัจจัยองค์ประกอบความสําเร็จของธุรกิจ
2.2 การกําหนดกลยุทธ์จาก Value ที่ลูกค้าต้องการ (Value to Success Factor)
2.3 หลักการและแนวทางการกําหนดกลยุทธ์ขององค์กรทั่วๆ
2.4 การวิเคราะห์ SWOT (ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก) เพื่อกําหนดกลยุทธ์
2.5 การออกแบบกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix
2.6 สรุปกลยุทธ์
Workshop 1 เชื่อมโยงวิสัยทัศน์, พันธกิจ สู่การวางกลยุทธ์
ส่วนที่ 3 หลักการกําหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดผลงานขององค์กร
3.1 ภาพรวม แนวทางการบริหารผลงาน
3.2 ที่มาของเป้าหมายองค์กร?
- ต้องตอบโจทย์วิสัยทัศน์, ภารกิจ, นโยบาย, กลยุทธ์ขององค์กร
- ต้องสอดคล้องกับปัจจัยแห่งความสําเร็จขององค์กร (Key Success Factor)
- ต้องสอดรับกับ ความต้องการ, ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กร
- ตอบโจทย์ผลประกอบการ, การเติบโต และ ความยั่งยืนขององค์กร
3.3 หลักการกําหนด KPI ทั้งระบบขององค์กร ให้มีประสิทธิภาพ
- ต้องสมดุล (Balance) ด้านการเงิน, ลูกค้า, การจัดการ, การพัฒนาบุคลากร, ความยั่งยืน
- ต้องสัมพันธ์ในเชิงเหตุผล (Causes and Effects)
- ต้องมีความสําคัญ และผลกระทบมากพอ (Significant Impact)
-ต้องเจาะจงชัดเจน (Focus)
- ต้องสอดคล้อง ไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร (Alignment)
- ต้องมีแผนงานที่สมเหตุผลรองรับเป้าหมาย (Reasonable Action Plan)
3.3 การกําหนดเป้าหมายในแต่ละข้อ ต้องตอบโจทย์การกําหนดเป้าหมายแบบ SMART
- S : SPECIFIC เฉพาะเจาะจง ชัดเจน (อะไร | เท่าใด / เมื่อไหร่)
- M : MEASURABLE สามารถวัดเป็นตัวเลขได้
- A : ACHIEVABLE มีโอกาสสําเร็จได้จริงในทางปฏิบัติ
- R : REASONABLE มีเหตุมีผล/สัมพันธ์กันทุกคนยอมรับ
- T; TRACKING สามารถตรวจสอบและติดตามได้
3.4 การจัดลําดับความสําคัญ และ ให้น้ำหนักคะแนน ของ KPI องค์กร
3.5 การกระจาย KPI ขององค์กรสู่หน่วยงาน ให้ตอบโจทย์เป้าองค์กร
Workshop 2 การทําโครงสร้างเป้าหมาย และกําหนด KPI ขององค์กร
ส่วนที่ 4 การกระจาย KPI จากองค์กร สู่หน่วยงาน
4.1 การกระจาย KPI ขององค์กรสู่หน่วยงาน ให้ตอบโจทย์เป้าองค์กร
4.2 การกําหนด Functional KPI ของแต่ละหน่วยงาน
4.3 โจทย์สําคัญของ การทํางานแต่ละหน่วยงาน (PQCDS)
การทํางานในทุกหน่วยงาน ต้องคํานึงถึงผลสําคัญในแต่ละด้านดังนี้
- Productivity (ผลิตภาพ) ผลงาน เทียบกับทรัพยากรที่ใช้
- Quality (คุณภาพ) งานมีคุณภาพ ถูกต้อง เทียบกับมาตรฐาน
- Cost (ต้นทุน) ใช้ทรัพยากรที่ส่งผลต่อต้นทุนได้คุ้มค่าที่สุด
- Delivery (การส่งมอบทันเวลา) ทำงานเสร็จตามกําหนดนัดหมาย
- Safety (ปลอดภัย) ต้องมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(บางหน่วยงาน ไม่จําเป็นต้องตอบโจทย์ทุกข้อ)
4.3 การจัดลําดับความสําคัญ และ ให้น้ำหนักคะแนน ของ KPI
4.4 การกําหนดเกรด ของผลงาน อย่างสมเหตุผล
Workshop 3 การกระจาย KPI สู่หน่วยงาน และ บุคลากร
ส่วนที่ 5 การประเมินผลงาน จากฐาน KPI และ Competency
5.1 หลักในการประเมินผลงาน ที่มีประสิทธิภาพ
5.2 การกระจาย KPI จากหน่วยงาน สู่ ผู้บริหาร และ พนักงาน
5.3 ประเมินความสามารถ Competency เพื่อการพัฒนาความสามารถ
5.4 ประเมินการมาทํางาน (Attendance) สําหรับระดับหัวหน้า และ พนักงาน
ส่วนที่ 6 การจัดระบบการประเมินผลงานบุคลากร ประจําปี
6.1 วิธีการประเมินผลงาน บนฐาน KPI, Competency อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 ขั้นตอน กระบวนการในการประเมินผลงาน
6.3 รูปแบบ, แบบฟอร์มที่ใช้ในการประเมินผลงาน
6.4 การเก็บข้อมูล เพื่อทําการประเมินผลงาน
Workshop 4 การจัดทําระบบประเมินผลงานประจําปี
***ทุกขั้นตอนจะให้มีการซักถามตอบข้อสงสัยในการทําระบบประเมินผลงาน***
รูปแบบการฝึกอบรม
การบรรยายแนว Training & Group Coaching เพื่อสร้างการระดมความคิด สลับกับการทํา Work Shop โดยใช้กิจกรรมที่ตรงตามเนื้อหา และใช้ข้อมูลของจริงหรือจําลองของธุรกิจ เพื่อความเข้าใจ และ นําไปใช้งานได้อย่างแท้จริง
- บรรยาย 35 %
- กิจกรรมกลุ่ม 65%
ประโยชน์ที่องค์กร และ ผู้เข้าอบรมจะได้รับ
5.1 ได้ความรู้และฝึกทักษะในการคิดและวางแผนกลยุทธ์
5.2 เพื่อให้ทุกหน่วยงาน ทํางานไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร
5.3 สร้างเป้าหมายที่ชัดเจน ในเป้าของหน่วยงาน และ ผู้บริหารระดับในระดับต่างๆ ใครต้องทําอะไร วัดผลอย่างไร ทํางานได้ตามเป้าหมายหรือไม่
5.4 มีระบบการประเมินผลที่ชัดเจน มีมาตรฐาน ทําให้เกิดความเป็นธรรมกับบุคลากรที่มุ่งมั่นตั้งใจทำงาน และมีผลงานอย่างแท้จริง
5.5 สามารถนํา KPI และระบบการประเมินผลงาน ที่ได้ไปใช้งานในระบบบริหารจัดการอื่นๆ
หลักสูตรนี้เหมาะสําหรับ
ผู้บริหารระดับสูง, ผู้จัดการ, ผู้ช่วยผู้จัดการ, Supervisor, หัวหน้างาน
31 มีนาคม 2563
ผู้ชม 1685 ครั้ง