ดูหน้า
ดูหน้า
Coaching Skill - เทคนิคการโค้ชชิ่ง และการเป็นพี่เลี้ยง
เทคนิคการโค้ชชิ่ง และการเป็นพี่เลี้ยง
(Coaching & Mentoring Techniques)
หลักการและเหตุผล
การเป็นพี่เลี้ยงและโค้ช เป็นกระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาและคงไว้ซึ่งมาตรฐานการทำงาน ในองค์กรคือ การสอนงาน หรือบางคนอาจจะเรียกว่า “On the Job Training” หรือเรียกง่ายๆ สั้นๆว่า OJT รวมถึงการ Coaching ที่สอนทั้งงาน ให้แนวคิด รวมถึงการให้กำลังใจ รวมถึงข้อแนะนำในการทำงาน เนื่องจากการสอนงานเป็นกับการทำงานเป็นนั้นไม่เหมือนกัน โดยต้องใช้ทักษะและความสามารถที่แตกต่างกัน การสอนงานคือการถ่ายทอดสิ่งที่มีไปสู่ผู้เรียนและผลของการสอนคือ ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ต้องการ ดังนั้น เพื่อให้ผู้ที่ทำงานเป็น ทำงานได้ กลายไปสู่การเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) และผู้สอนงาน (Coach) ที่ดี
จึงต้องมีการพัฒนาและฝึกอบรมให้พี่เลี้ยงหรือโค้ชผู้สอนงานมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการวิเคราะห์งาน การวางแผนการสอน จิตวิทยา ทักษะและเทคนิคการสอน รวมถึงวิธีการประเมินและติดตามผล
วัตถุประสงค์
- เพื่อเสริมสร้าง ทักษะ ความรู้ และทัศนคติที่ดี ในการเป็นโค้ชที่มีประสิทธิผลสูง และเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรธุรกิจ
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจ เทคนิคในการสอนงานด้วยโมเดลต่างๆ
- เพื่อสร้างโค้ชที่มีภาวะผู้นำ และมีเทคนิคการโค้ชชิ่ง จะได้ดึงศักยภาพทีมงานออกมา ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้
- เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการโค้ชชิ่งบุคลากรภายในองค์กร โดยผู้จัดการโค้ชชิ่งหัวหน้างาน และหัวหน้างานโค้ชชิ่งพนักงานระดับปฏิบัติการ เป็นการสอนวัฒนธรรมการโค้ชชิ่งให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
- เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึกของทีมงานที่จะสอนงาน หรือเป็นพี่เลี้ยงให้ตรงวัตถุประสงค์ขององค์กร
- เพื่อวิเคราะห์หาความต้องการของทีมงานที่ต้องรับการสอนงาน และการเป็นพี่เลี้ยง
เนื้อหา
วันที่ 1
5 ขั้นตอนในการสอนงาน (Five Basic Steps : On the Job Training and Coaching)
- เตรียมการ (การสร้างแรงบันดาลใจ และแรงจูงใจ)
- วิธีการทำให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเอง ผู้ที่จะเรียนรู้งานนั้นมีความใหม่ มีความกังวล หากได้รับการต้อนรับและให้ความเป็นกันเองได้ จะช่วยลดการเกิดความตื่นเต้น และทำให้การเรียนรู้ราบรื่นขึ้นได้
- แจ้งขอบเขตงาน ที่ทำการสอนงาน และวิธีสอบถามว่าได้รู้งานมาแล้วเพียงใด เพื่อลดการสอนงานที่ไม่จำเป็น หรือเพื่อให้แน่ใจว่ามีความรู้ในงานนั้นจริงๆ เพื่อสามารถวางแผนการสอนได้ถูกต้องว่าต้องเน้นย้ำตรงส่วนไหน
- เทคนิคการจูงใจต่างๆ ที่ทำให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ในสิ่งที่กำลังสอน เพราะเราไม่สามารถสอนในสิ่งที่คนไม่ต้องการเรียนรู้ได้
- วิธีการให้ผู้เรียนอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่ว่าการนั่งหรือยืน ด้านหน้า ด้านหลังผู้สอน ซึ่งรวมทั้งสถานที่ที่จะสอนงาน การบริหารควบคุมสิ่งที่มารบกวน (ฝึกปฏิบัติ) ปัญหา และสาเหตุหลักของปัญหา
- แสดงให้เห็น
- การบอก การทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง การอธิบายเหตุผล เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จในการสอนงาน
- ในการสอนต้องมีการเน้นน้ำในจุดที่สำคัญ (Key Point) อยู่เสมอ ซึ่งจุดที่สำคัญ (Key Point) หมายถึงสิ่งที่หากทำไม่ถูกต้องจะทำให้งานนั้นเสียหาย หรือใช้เวลานานกว่า
- การสอนงานในแต่ละจุด ต้องทำให้ชัดเจนสมบูรณ์ โดยต้องทำการอธิบายช้าๆ ในประเด็นที่สำคัญ
- การแสดงให้เห็นนี้ ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี เพราะว่าพนักงานมีความสามารถในการเรียนรู้จำกัด ต้องมีการพักและย้ำเป็นระยะๆ ระมัดระวังการสอนเกินกว่าความสามารถในการเรียนรู้ได้ในช่วงเวลานั้น ๆ
- มีแบบจำลองสถานการณ์ให้ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติจริง
- วิธีการเตรียมให้ผู้เรียนทำการทดลองปฏิบัติ ทำการทบทวนจุดสำคัญ สรุปว่าต้องทำอะไรบ้างและอย่างไร
- การจัดให้มีการทดลองปฏิบัติจริง เมื่อผู้เรียนทำไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขข้อผิดพลาดโดยทันที การสอนที่ดีต้องปล่อยให้ผู้เรียนทำถูกและทำผิด แล้วเปรียบเทียบเน้นน้ำสิ่งที่ถูก
- ให้ผู้สอนเน้นอธิบายในแต่ละจุดสำคัญ (Key Point)
- ทำให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในจุดที่สำคัญ (Key Point)
- ให้ผู้เรียนฝึกอย่างต่อเนื่องจนมั่นใจว่าผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานนั้นได้ รวมถึงการให้กำลังใจจากผู้สอน
- เอกสารและสื่อประกอบการเรียนรู้
- รูปแบบเอกสารประกอบที่เหมาะสม และปลอดภัยต่อการรั่วไหลของข้อมูลความลับ ของบริษัท เช่น มีเฉพาะหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อยที่สำคัญ แล้วให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดทบทวน เขียนเพิ่มเติมลงในคู่มือ
- การใช้เทคโนโลยี สื่อมัลติมีเดียมาช่วยในการสร้างความน่าสนใจ ในการเรียนรู้
- กิจกรรม แบ่งกลุ่มระดมสมองการทำเอกสารและสื่อประกอบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับงานของท่าน
- การสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงเทคนิคการให้คำปรึกษาเบื้องต้นในการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง
- Role Playing : การสอนงาน On the Job Training
- ระดมสมองปัญหา และอุปสรรค รวมถึงหาแนวทางป้องกันและแก้ไข
- การ เป็นโค้ช/พี่เลี้ยง คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร และแตกต่างจากบทบาทอื่นๆอย่างไร
- บทบาทการเป็นโค้ช/พี่เลี้ยง
- หน้าที่ และคุณลักษณะที่ดีของโค้ช/พี่เลี้ยง
- ตัวอย่างกรณีศึกษาการเป็นโค้ช/พี่เลี้ยง และการสร้างวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จ
- ระดมสมอง การสอนงาน On the Job Training และ การเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ในแบบองค์กรของท่านคือแบบใด
- สรุป ถาม-ตอบ
วันที่ 2
- หลักการ Coaching ด้วยหลักการต่างๆ เช่น NLP (Neuro Linguistic Programming) , G-R-O-W , 4I , การโค้ชชิ่งตามจุดแข็ง
- บทบาทของโค้ชในองค์กร - หลักสำคัญของการเป็นโค้ช และการเตรียมตัวเพื่อการเป็นโค้ช
- การโค้ชด้วยหลักการ 4I ,NLP (Neuro Linguistic Programming) , G-R-O-W - ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเป็นโค้ช
- เทคนิคการฟัง 4 ระดับ (Listening Technique) ทักษะการฟังที่ดี โดยเฉพาะ การรับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ (Empathic Listening) และการสร้างทัศนคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น และการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนา (Feedback ) ด้วยเทคนิค 3S
- หลุมพรางการให้ข้อมูลย้อนกลับ
- เทคนิค 3S คืออะไร นำมาใช้อย่างไร
- ฝึกปฏิบัติ การ Coaching ด้วยหลักการ NLP (Neuro Linguistic Programming) , G-R-O-W , 4I , การโค้ชชิ่งตามจุดแข็ง
- ระดมสมองปัญหา และอุปสรรค รวมถึงหาแนวทางป้องกันและแก้ไข
- กิจกรรม โค้ชชิ่ง มาสเตอร์ (Coaching Master)
- การเป็นโค้ชเพื่อผลงานที่เป็นเลิศ (Coaching for High Performance)
- เข้าใจคุณลักษณะการเป็นโค้ชแบบการเป็นหุ้นส่วน
- เทคนิคการใช้คำถามเชิงสร้างสรรค์
- การโค้ชให้ตรงกับเป้าหมายขององค์กร และสร้างประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับ
- การติดตามผล
- ทำการระบุผู้ที่เป็นโค้ช (Coach) หรือผู้ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ
- ทำการตรวจสอบความเข้าใจบ่อยๆ และเปิดโอกาสให้พนักงานสอบถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ
- กำหนดระยะเวลาในการทบทวน เรียนรู้งานในครั้งต่อไป
- การออกแบบกิจกรรมรณรงค์ให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน และทำงาน การมอบรางวัลต่างๆ
สรุปการบรรยาย ถาม-ตอบ
การประเมินผล
- การทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Pre test - Post test)
- มีระบบการประเมินผลในการฝึกอบรม และนำมาวิเคราะห์เพื่อชี้วัดความสำเร็จ
รูปแบบการฝึกอบรม
บรรยาย และ Workshop กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ
ระยะเวลา
2 วัน
13 มีนาคม 2563
ผู้ชม 2743 ครั้ง