ดูหน้า
ดูหน้า
Coaching Skill - เทคนิคการสอนงานแบบ OJT
เทคนิคการสอนงานแบบ OJT
On the Job Training (OJT)
หลักการและเหตุผล
การทำงานของพนักงานที่เกิดความผิดพลาด เกิดอุบัติเหตุ มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน สาเหตุหนึ่งที่สำคัญ คือ การไม่ได้รับการสอนงานและการแนะนำงานอย่างถูกต้องจากหัวหน้างาน และอีกสาเหตุคือ หัวหน้างานจำนวนมากไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่หนึ่งซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งก็คือการเป็น “สอนงาน” เพราะคิดว่า การ “สอนงาน” ก็เหมือนที่เคยเรียน ๆ กันมา ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงไม่เป็นไปตามที่องค์กรคาดหวังไว้ ความเหินห่างระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้องมากขึ้น บรรยากาศในการทำงานระหว่างกันไม่ค่อยดี ลูกน้องขาดความศรัทธาในตัวหัวหน้า ไม่คิดว่าหัวหน้าเป็นตัวแบบ ที่ควรเอาเยี่ยงอย่าง ทำงานก็ทำแบบให้เสร็จไปวัน ๆ ไม่มีเป้าหมายในชีวิตเพราะไม่มีคนที่คอยแนะนำ และสนับสนุนอย่างเต็มที่ ผลงานที่ออกมาก็ไม่ดี ขาดขวัญกำลังใจ เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้องและไม่สามารถผลิตงานที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้นการสอนงานที่ดีจะต้อง สมบูรณ์ ชัดเจน ส่งผลให้ลูกน้องสามารถทำงานได้โดยเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ความรู้และทักษะในการสอนงานเป็นสิ่งจำเป็นที่หัวหน้างานต้องมี เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการสร้างคนได้อย่างมีประสิทธิผล
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้หัวหน้างาน หรือผู้ที่มีหน้าที่สอนงาน ได้รับความรู้และทักษะในการสอนงานแบบ OJT ที่ถูกต้อง ครบถ้วน
- เพื่อให้หัวหน้างาน หรือผู้ที่มีหน้าที่สอนงาน สามารถจัดทำแผนการสอนงานและซอยงาน เพื่อพัฒนาพนักงาน ภายใต้บังคับบัญชาได้
- เพื่อให้หัวหน้างาน หรือผู้ที่มีหน้าที่สอนงาน สามารถสอนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
เนื้อหา
- บริบทแรกสู่การพัฒนากรอบความคิดในการสอนงานแบบ OJT
- การเปลี่ยนกรอบความคิด(Mindset)
- “ ใครต้องรับผิดชอบ” เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในการสอนงานแบบ OJT
- พฤติกรรมและธรรมชาติของมนุษย์กับการเรียนรู้
- ธรรมชาติของมนุษย์ในการเรียนรู้
- ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ของคนในองค์กร
- รู้จัก และเข้าใจคุณลักษณะบุคคลของลูกน้องใน 4 มิติ
- เรียนรู้จุดแข็ง ข้อจำกัด ของลูกน้องในแต่ละ Style
- การ “สอนงาน” ลูกน้องในแต่ละ Style
- บทบาทสำคัญของหัวหน้างาน ในฐานะ “ผู้สอนงานแบบ OJT”
- การฝึกอบรมหน้างาน คืออะไร (What is OJT ?)
- ทำไม..ต้องมีการฝึกอบรมหน้างาน
- การสอนงานแบบ OJT “ปัญหาอยู่ที่ไหน”
- คุณสมบัติของผู้สอนงานแบบ OJT
- ทักษะการสอนงานแบบ OJT
- Workshop 1 : การวางแผนและเขียนแผนการสอนงาน
- การเตรียมความพร้อมก่อนการสอนงาน
- Workshop 3 : การฝึกปฏิบัติ “การสอนงานเป็นรายบุคคล”
- ปัจจัยสำคัญของการเป็น “ผู้สอนงาน” ที่ประสพความสำเร็จ
- สร้างความไว้วางใจ
- ตอกย้ำสิ่งที่ดี
- เมื่อเกิดการผิดพลาด จงเบี่ยงเบนพลัง
- วิธีการชมเชยและการตอบสนอง (Providing constructive feedback)
- การประเมินผลการสอนงาน
รูปแบบการฝึกอบรม
- การบรรยายแบบมีส่วนร่วม Participative Technique
- การระดมความคิดเห็น (Brain Storm)
- แบบวิเคราะห์คุณลักษณะบุคคล (Personality Test)
- บทบาทสมมติ (Role Play)
- Workshop
- เรียนรู้จากสื่อมัลติมีเดีย (Audio & Visual)
ระยะเวลา
2 วัน
วิทยากร
อาจารย์อิทธินันท์ สันทัศ
เหมาะสำหรับ
พนักงานระดับหัวหน้างาน หรือผู้ทำหน้าที่สอนงานแบบ OJT ในองค์กร
13 มีนาคม 2563
ผู้ชม 3144 ครั้ง