ดูหน้า
ดูหน้า
Thinking Skills - การปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการคิดเชิงบวก
การปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการคิดเชิงบวก
(Effective Working by Positive Thinking & Right Attitude)
หลักการและเหตุผล
ความคิดเชิงบวกหรือความคิดเชิงลบ เป็นทัศนคติของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อ และเป็นสิ่งชี้นำความรู้สึกของคนเรา ซึ่งอาจจะแสดงออกมาเป็นการกระทำในลำดับต่อไป ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking) จะนำไปสู่ผลตอบแทนในแง่บวก มองเป็นเรื่องของโอกาส มีความหวัง สนุกและมีความสุขในการทำงาน มุ่งมั่นต่อความสำเร็จ ส่วนความคิดเชิงลบ จะนำไปสู่ผลตอบแทนในแง่ลบ มองทุกอย่างเป็นข้อจำกัด เป็นอุปสรรค ดูเครียดจริงจัง บางครั้งยอมแพ้ก่อนที่จะเริ่มงาน เพียงเพราะกลัวว่าจะทำงานนั้นได้ไม่ดี
ดังนั้น ในโลกธุรกิจปัจจุบัน ซึ่งทำงานอยู่ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องการพัฒนาบุคลากร ให้สามารถปรับตัวและกล้าเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและเกิดความสำเร็จ ซึ่งพนักงานต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนมุมมอง การรับรู้ ความคิด และทัศนคติของตนเอง ซึ่งมีอิทธิพลและเป็นปัจจัยโดยตรงต่อผลสำเร็จหรือความล้มเหลวทั้งในเรื่องชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัวและหน้าที่การงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นการปรับเปลี่ยนที่วิธีคิด คือ ต้องสามารถคิดอย่างเป็นระบบ และคิดสร้างสรรค์ และเน้นการทำงานเชิงรุกหรือการทำงานแบบ Proactive Working
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และความเข้าใจถึงความแตกต่างของมนุษย์ อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการวางตัวอย่างเหมาะสมในการปฏิบัติงาน
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาในการทำงานอย่างถูกวิธี และสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรัก ความผูกพันและร่วมกันสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของในองค์กร อันมีผลในการส่งเสริมเผยแพร่ชื่อเสียงขององค์กรสืบต่อไป
เนื้อหา
- พฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์
- นวัตกรรมใหม่ของการเรียนรู้
- หลักการวิเคราะห์ตนเองเพื่อความสุขในการทำงาน
- หลักการสร้างทัศนคติที่ดีและการคิดเชิงบวกในการทำงาน
- การสร้างกลยุทธ์แนวรุกและการสร้างป้อมแนวรับในการทำงาน
- หลักและวิธีการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
- KPI ชีวิต
รูปแบบการฝึกอบรม
- การบรรยาย-สาธิต
- ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร - กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
- การแสดงบทบาทสมมติ
วิธีการประเมินผล
- จากแบบสอบถามและการสังเกต
- จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ
- จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด
เหมาะสำหรับ
หัวหน้างาน และพนักงานที่เกี่ยวข้อง
วิทยากร
อาจารย์พัชรี แช่มช้อย และทีมงาน
16 มีนาคม 2563
ผู้ชม 3855 ครั้ง