ดูหน้า
ดูหน้า
Productivity & Business Development - TPM & Energy Saving
TPM & Energy Saving
หลักการและเหตุผล
ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิต มักไม่ได้สนใจหาวิธีการใช้และบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่ตามมาก็คือเครื่องจักรเสียบ่อย ต้องเสียเวลาซ่อมและเวลาการผลิตเครื่องจักรไม่มีสมรรถนะการทำงานที่ดี ผลิตชิ้นงานออกมาไม่ได้ตามข้อกำหนดอย่างสม่ำเสมอสัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานผลิตและหน่วยงานซ่อมบำรุง ทำให้เกิดการแก้ไขงานที่มีผลทำให้ต้นทุนสูง การส่งมอบไม่ทันเวลา ซึ่งส่งผลให้ขาดการบำรุงรักษาที่เป็นความร่วมมือระหว่างพนักงานหน่วยซ่อมบำรุงและพนักงานหน่วยผลิต ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในญี่ปุ่นและกำลังเป็นที่นิยมใช้ในประเทศต่างๆ คือ การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance – TPM) ซึ่งสามารถทำให้ใช้เครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิผล ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษา ประหยัดลดการใช้พลังงาน และผลิตสินค้าได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของลูกค้า
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้สามารถช่วยประหยัดหรือลดการใช้พลังงานได้จริงด้วยวิธีการของ TPM
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการและความจำเป็นในการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance : TPM)
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจขั้นตอนการติดตั้งระบบ TPM ในองค์กรและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรได้
เนื้อหา
- ความจำเป็นที่ต้องทำ TPM
- ความหมาย คำจำกัดความ และประวัติความเป็นมาของ TPM
- ความสูญเสียและแนวคิดในการทำ TPM
- การลดการใช้พลังงานด้วยวิธีการของ TPM
- กลยุทธ์ในการดำเนินการ TPM
- การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance : TPM)
- การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness : OEE)
- การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Self Maintenance)
- การบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance)
- กิจกรรม 8 เสาหลัก (Pillar)
- การให้การศึกษาและฝึกอบรม (Education and Training)
- การดูแลรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
- การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Specific Improvement)
- การวางแผนดูแลรักษา (Planned Maintenance)
- ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Safety and Environment)
- การรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance)
- การควบคุมขั้นต้น (Initial Control)
- การเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหาร (Efficient Administration)
- ผลที่ได้จากการทำ TPM
- การดำเนินงาน TPM 12 ขั้นตอน
รูปแบบการฝึกอบรม
บรรยาย และ Workshop กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ
เหมาะสำหรับ
ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน วิศวกร ช่างเทคนิคในหน่วยงานผลิต ฝ่ายซ่อมบำรุงคุณภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลา
1 วัน / 2 วัน
11 มีนาคม 2563
ผู้ชม 910 ครั้ง